ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556-2560 พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 91 % มีปัญหาสุขภาพจากการทำงานในออฟฟิศมีแนวโน้มสูงขึ้น และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมตามมา บางรายมีอาการปวดเรื้อรังและรุนแรง จนนำไปสู่ความพิการ
“ออฟฟิศซินโดรม” ต้องรักษาเข้มข้นแค่ไหน?
โดยปกติการรักษาออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่จะรักษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เช่นกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเฉพาะบุคคล การรักษาแบบทางเลือก นวด ฝังเข็ม เป็นต้น ในบางครั้งการรักษาแบบเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ต่อเนื่อง เพราะคิดว่ารักษาแล้วไม่ดีขึ้น บางรายคิดว่าอาการออฟฟิศซินโดรมที่เป็นอยู่นั้นหายแล้ว จึงไม่กลับเข้าไปรักษาตามโปรแกรมที่วางไว้ อีกทั้งยังกลับไปใช้ชีวิตและพฤติกรรมแบบเดิม ส่งผลให้เกิดอาการปวดมากขึ้นและนำสู่อาการปวดเรื้อรังจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
การรักษาออฟฟิศซินโดรมแบบเข้มข้น หรือ Intensive Treatment จึงเป็นการรักษาที่ต้นเหตุและตรงจุด เนื่องจากการรักษาแบบนี้จะต้องใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านร่วมกันวางแผนและออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ของการรัษาที่เร็วขึ้น ทำให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วยิ่งขึ้น