ฟื้นฟูอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอัมพาต
ปัจจุบันผู้ป่วยผู้ป่วยโรคเลือดสมองมีจำนวนมาก แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ ทำให้การรักษาและการฟื้นฟูเพื่อช่วยลดอาการผิดปกติ เพิ่มสรรถภาพของผู้ป่วยดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติ ลดภาวะการพึ่งพาจากผู้อื่น
อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยอัมพาต
•อัมพาตอ่อนแรง ขยับแขนขาได้น้อย หรือไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
•มีน้ำลายไหล พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ดูดน้ำหรือกลืนอาหารลำบาก
•ชาแขนขาข้างที่เป็นอัมพาต ไม่รู้สึกเวลาโดนของร้อน
•กล้ามเนื้อมีการกระตุก/เกร็ง อาจจะพบได้ในระยะต่อมา
•มีปัญหาด้านการกลืน/กิน ทำให้มีโอกาสสำลักอาหารเข้าสู่ปอด และเป็นโรคปอดอักเสบตามมาได้
** ปัญหาต่าง ๆ ควรได้รับการดูแลรักษาฟื้นฟูโดยอาศัยความร่วมมือจากทีมนักกายภาพบำบัด ทีมผู้ช่วย ทีมเทรนเนอร์ ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้เต็มที่และกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
ปัญหาของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
•ปัญหาแขนและขาอ่อนแรง : ควรทำกายภาพบำบัดโดยเริ่มจากการจัดท่านอน บริหารข้อต่อ ฝึกนั่ง ยืน เดิน นอกจากการฝึกเรื่องการเคลื่อนไหว จะมีการฝึกกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกินข้าว ใส่เสื้อผ้า อาบน้ำ
•ปัญหาด้านการกลืนอาหาร : ในช่วงแรกผู้ป่วยยังไม่สามารถดูดกลืนอาหารได้หรือยังทำได้ไม่ดี อาจต้องใช้สายยางให้อาหารก่อน หลังจากอาการโดยรวมดีขึ้น ควรเริ่มฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกินข้าว ฝึกการกลืนโดยใช้อาหารที่มีความนิ่ม/อ่อน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ปลอดภัย
•ปัญหาการสื่อสาร : ผู้ป่วยที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคสมอง ทำให้ควบคุมการพูด และการใช้ภาษา มีปัญหาในการสื่อสาร ไม่เข้าใจในสิ่งที่รับฟัง พูดไม่ได้ ผู้ป่วยควรได้รับการฝึกเพื่อการสื่อสาร
•ปัญหากล้ามเนื้อ : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อมากน้อยจะขึ้นอยู่กับอาการของสมองหรือโรคที่เป็น บางครั้งการเกร็งกล้ามเนื้อเป็นอุปสรรคในการบำบัดฟื้นฟู ทำให้ข้อต่อต่างๆ ยึดติดกัน การรักษามีหลากหลายวิธี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
ผลลัพธ์หลังได้รับการฟื้นฟู
•ต้องได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัวหรือ บุคคลใกล้ชิด
•สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เร็ว
•มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำตัว สะโพก หัวไหล่ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต้น
•มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแต่ละมัด และสามารถควบคุมกล้ามเนื้อแต่ละมัดได้
•อารมณ์ดีไม่มีอาการซึมเศร้า
**ผลลัพธ์ของการรักษาขึ้นอยู่กับการดูแลช่วยเหลือของญาติและความพยายามของผู้ป่วยเป็นหลัก หากผู้ป่วยไม่ได้ให้ความร่วมมือในการรักษา การฟื้นฟูอาจจะทำได้ช้าลง **